วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

โรคที่เกิดกับปลากัดและการรักษา



โรคจุดขาว

สาเหตุ เกิดจากโปรโตซัว (Ichthyopthirius multifilis)
ลักษณะ เซลล์รูปไข่หรือเกือบกลม มีขนาดใหญ่ 0.5-1.0 มม. มีขน (cilia) รอบตัว มีนิวเคลียสรูปเกือกม้า มักเรียกว่า ich
การแพร่ระบาด ตัวอ่อนว่ายน้ำเข้าเกาะตัวปลาและฝังตัวอยู่ใต้ผิวหนัง ปล่อยสารเพื่อย่อยเนื้อเยื่อปลาเพื่อกินเป็นอาหาร เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยจะว่ายน้ำออกจากตัวปลาไปเกาะกับวัสดุหรือจมลงสู่ พื้นตู้ แล้วสร้างเกราะหุ้มตัว ภายในมีการแบ่งเซลล์ 500-2,000 เซลล์ ตัวอ่อนเจาะผนังออกมาว่ายน้ำเป็นอิสระเพื่อไปเกาะปลาต่อไป วงจรชีวิตใช้ระยะเวลา 12-16 วัน

การรักษา
ซุปเปอร์อิคหยดตามฉลากวิธีใช้ครับ เกลือเยอะๆหน่อยหายชัวร์

ฟอร์มาลดีไฮด์เข้มข้น 10 ppm. ใส่ติดต่อกัน 5-7 วัน
เกลือแกงเข้มข้น 5 ppt.ใส่เวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณ 5-7 วัน
มาลาไคท์กรีนเข้มข้น 1.0 ppm. ใส่ติดต่อกัน 3-5 วัน(อย่าให้โดนผิวหนัง เพราะเป็นสารก่อมะเร็ง)
เมทิลินบลูเข้มข้น 1.0-2.0 ppm. ใส่ติดต่อกัน 3-5 วัน

โรคจุดเหลือง, โรคสนิม

สาเหตุ เกิดจากโปรโตซัว (Oodinium spp.)
ลักษณะ เซลล์รูปร่างกลมหรือแบนรูปไข่ มีขนาดประมาณ 0.10-0.15 มม. มีอวัยวะคล้ายแส้ 2 เส้น เพื่อใช้เกาะตัวปลา มีอวัยวะคล้ายปากยืดหดได้เรียกว่า Cytoplasmic process มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ 1 อัน ภายในเซลล์มีเม็ดสีน้ำตาลปนเหลืองเล็กๆ จำนวนมาก
การแพร่ระบาด ตัวอ่อนว่านน้ำเกาะตัวปลาตามเหงือกและลำตัว ทำให้มีสีเหลืองแกมน้ำตาลหรือเป็นหมอกสีขาว ตัวเต็มวัยว่ายน้ำหลุดออกจากตัวปลาแล้วแบ่งตัวออกเป็น 2 เซลล์ ก่อนจะแยกกันมีการสร้างเกราะหุ้มเซลล์ไว้ แล้วแต่ละเซลล์จะแบ่งตัวได้ตัวอ่อนเซลล์ละ 128 ตัว จากนั้นจะเจาะเกราะละทุออกมาหาปลาเกาะอีกครั้ง
การรักษา
ฟอร์มาดีไฮด์ 10 ppm. ใส่ติดต่อกัน 5-7 วัน
เกลือแกง 5 ppt.
ใช้ยาเหลือง (Acriflavine) 4 มิลิลิตร / น้ำ 4.5 ลิตร และทำซ้ำจากครั้งแรก 1 สัปดาห์

โรคเชื้อรา
สาเหตุ เกิดจากเชื้อราในกลุ่มราน้ำ (Water mold) มีชื่อวิทย์ฯ ว่า (Saprolegnia sp.)
ลักษณะ เป็นเส้นใยคล้ายปุยสำลี ปกด. mycelium เป็นเส้นใยแตกแขนงออกไปรอบๆ ตรงปลายจะขยายโป่งออกเป็นกะเปาะสำหรับสร้างตัวอ่อน (zoospore) จำนวนมาก เมื่อกะเปาะแตกออกตัวอ่อนจะว่านน้ำเพื่อหาที่เกาะ
การแพร่ระบาด เมื่อปลาเกิดบาดแผล เชื้อราสามารถเข้าเกาะกินได้ ปลาที่เลี้ยงในบ่อดินมักไม่ค่อยพบเชื้อรา การฟักไข่ปลาสวยงามที่ไม่ได้รับการผสมจากเชื้อเพศผู้มักเกิดเชื้อราได้ง่าย แล้วแพร่ระบาดออกไปอย่างรวดเร็ว
การรักษาโรค
ฟอร์มาลดีไฮด์ เข้มข้น 10 ppm. ใส่ติดต่อกัน 3-5 วัน
เกลือแกง เข้มข้น 5 ppt.
ยาเหลือง เข้มข้น 15 ppm

วิธีปฏิบัติเมื่อพบว่าปลาป่วย
แยกปลาที่ป่วยออกจากตัวอื่นๆ
วินิจฉัยโรคอย่างรอบคอบเพื่อเลือกใช้ยารักษา และไม่ควรจับปลาให้พ้นจากน้ำ
ระมัดระวังในการคำนวณอัตราส่วนในการใช้ยาเพื่อการรักษา
เมื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำควรใส่เกลือแกงไปด้วยทุกครั้งเพื่อลดความเครียดของปลาและช่วยฆ่าเชื้อโรคบางชนิดได้
ละลายตัวยาให้เจือจางในภาชนะอื่นๆ ก่อนใส่ในตู้ปลา
การใช้ยาปฎิชีวนะ พวกยาแก้อักเสพ ควรใช้ในช่วงเย็นเพราะมียาบางชนิดทำปฏิกิริยากับแสงสว่าง
ไม่ควรใช้ยาปฎิชีวนะหลายตัวรวมกันเพราะอาจทำให้ยาบางชนิดไปทำลายฤทธิ์ของอีกชนิดได้
อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ใช้กับปลาป่วย ควรแยกต่างหากไม่ใช้ปะปนกับปลาอื่น
เปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆ หรือทุกวัน วันละ 20-30 เปอร์เซ็นต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นและแน่ะแนวทางได้ครับ