วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

นักสู้ผู้เปี่ยมด้วยความรับผิดชอบ




นักสู้ผู้เปี่ยมด้วยความรับผิดชอบ Photobucketมารยาทในสังเวียนการต่อสู้แล้ว ความน่ารักอีกอย่างหนึ่งของปลากัดก็คือปลาตัวผู้จะเป็นผู้สร้างรัง ดูแลไข่และตัวอ่อน รังจะเป็นหวอดที่ก่อขึ้นจากฟองอากาศที่ฮุบเข้าไปผสมกับเมือกเหงือกในปาก แล้วนำมาพ่นเป็นหวอดบริเวณผิวน้ำ เพื่อเป็นที่สำหรับฟองไข่และตัวอ่อน เกาะติด หลังจากเกี้ยวพาราสีตัวเมียจนเป็นที่ยินยอมพร้อมใจแล้วก็จะทำการรัดโดยตัว เมียจะปล่อยไข่ และตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสมกันภายนอก ไข่จะพรั่งพรูออกมาเป็นชุด ๆ และจมลงสู่พื้นอย่างช้า ๆ พ่อแม่ปลาจะใช้ปากฮุบฟองไข่แล้วนำไปพ่นไว้ที่ฟองหวอดจนกว่าไข่จะหมด ซึ่งอาจใช้เวลานับ ชั่วโมงหลังจากนั้นพ่อปลาจะเป็นผู้ทำหน้าที่เฝ้าระวังไข่และลูกอ่อน ลูกปลาที่เพิ่งฟักออกเป็นตัวจะฟักอยู่ภายใต้หวอดจนไข่แดงถูกใช้หมดและครีบ พัฒนาสมบูรณ์ หากลูกปลาพลัดตกจากหวอด พ่อปลาจะทำหน้าที่พาลูกกลับมาพ่นไว้ที่หวอดดังเดิม และคอยเสริมหวอดด้วยฟองอากาศที่พ่นใหม่ อยู่เรื่อย ๆ ในระยะนี้พ่อปลาจะยุ่งทั้งวันโดยไม่มีการพักผ่อน นอกจากจะต้องซ่อมแซมหวอดและคอยดูแลลูกปลาที่พลัดตกจากหวอดแล้ว ก็จะต้อง เฝ้าระวังศัตรูที่จะเข้ามากินลูกอ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่ปลาที่จะต้องถูกขับไล่ให้ไปอยู่ห่าง ๆ เนื่องจากชอบกินลูกของตัวเอง

ศัพท์ของนักเลงปลากัด
ถ้า พิจารณาดูให้ดีจะเห็นว่าปลากัดมีอิทธิพลต่อสังคมไทยไม่น้อย คำศัพท์ต่าง ๆ ที่ใช้ในวงนักเลงปลาได้กลายเป็นคำที่ถูกนำมาใช้ในสังคมไทยอย่าง แพร่หลายตั้งแต่ "ลูกหม้อ" ซึ่งหมายถึงผู้ที่มีกำเนิดผูกพันอย่างแท้จริงเหมือนกับปลาลูกหม้อที่คัดสายพันธุ์ เลือกสรรลักษณะมาอย่าง ต่อเนื่อง "ลูกไล่" ซึ่งหมายถึงคนที่ถูกข่มอยู่ตลอดเวลา ดั่งปลาลูกไล่ที่ไม่ยอมสู้ปลาตัวอื่น "ก่อหวอด" หมายถึงการคิดกระทำ มิดีมิร้ายซึ่งเป็นอาการเตรียมการของปลากัดตัวผู้ที่วางแผนจะผสมพันธุ์กับตัวเมีย "ถอดสี" อาการตกใจยอมแพ้ของปลากัด และ "ติดบิด" ซึ่งถูกนำมาใช้ในภาษามวยที่ต่อยแล้วกอดกันแน่น คำเหล่านี้ปัจจุบันถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันจนเป็นคำธรรมดา ซึ่งคนส่วนใหญ่ จะไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วเป็นคำศัพท์ในวงนักเลงปลากัด


ปลากัดโดย ปลากัดจีน ปลากัดเขมร
prakad ตาม ปกติเมื่อพูดถึงปลาลูกหม้อ หรือปลาหม้อ ก็จะมีคำว่าปลาจีนคู่กันอยู่เสมอ จนคนหลายคนเข้าใจผิดว่าปลาจีนเป็นปลากัดอีกสายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมา จากประเทศจีน ซึ่งโดยแท้จริงแล้วปลาทั้งสองชนิดนี้ก็เป็นปลากัดไทยที่มีพื้นเพมาจากปลากัด ป่าของเราทั้งคู่เพียงแต่เมื่อมีการผสมคัดพันธู์เพื่อให้ได้ ปลาลูกหม้อที่กัดเก่งมีลักษณะที่ดีสวยงาม ก็เผอิญได้ปลาชนิดใหม่ที่ครีบและหางยาวออกมามากกว่าปกติ หลังจากนั้นก็มีการปรับปรุงพันธุ์ให้ได้ครีบ และหางที่แผ่กว้างขึ้น มีลักษณะสวยงามขึ้น มีสีสันใหม่ ๆ ที่สวยงาม โดยวัตถุประสงค์หลักที่จะเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะลักษณะครีบที่ยาว รุ่มร่ามและสีสันฉูดฉาด เหมือนตัวงิ้ว จึงเรียกกันว่า ปลาจีน เลยทำให้คนเข้าใจผิดกันไปมากมาย ส่วนปลาเขมรนั้นเป็นปลากัดเผือก หรือ ปลากัดสีอ่อน เริ่มพัฒนาและเลี้ยงกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2443 แรก ๆ มีมากในประเทศเขมร โดยสรุปทั้งหมดก็เป็นปลาที่เกิดจากปลาป่าสายพันธุ์เดียวกัน เพียงแต่เมื่อมีการผสมคัดพันธุ์ที่ถูกต้องได้จังหวะ ลักษณะที่สวยงามมากมายของปลากัดที่เป็นลักษณะพันธุกรรมที่ซ่อนอยู่ในปลาป่า เมื่อมีการผสม คัดพันธุ์ให้ถูกต้องได้จังหวะความสวยงามเหล่านี้ก็จะปรากฎออกมาให้ได้ชื่นชม ในปัจจุบันจึงมีปลากัดรูปแบบและสีสันใหม่ ๆ ปรากฎออกมาอยู่เสมอ ๆ

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ27 กันยายน 2552 เวลา 01:57

    ทำบล๊อกได้ดีครับ มีข้อมูล รูปภาพ องค์ประกองเยอะดี ชอบครับ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ27 กันยายน 2552 เวลา 01:58

    ทำบล๊อกได้ดีครับ มีข้อมูล รูปภาพ องค์ประกองเยอะดี ชอบครับ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็นและแน่ะแนวทางได้ครับ