การพัฒนาปลากัดสายพันธุ์ครีบยาว
โดย ความดึงดูดใจของความสวยงาม ปราดเปรียว ร่าเริง ความสามารถแสดงออกซึ่งอารมณ์เมื่อถูกกระตุ้นและความที่เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ปลากัดไทย ได้ถูกฝรั่งนำไปเลี้ยงในยุโรป ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2417 และต่อมาก็แพร่ไปที่สหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และได้มีการผสมคัดพันธุ์เพื่อให้ได้ ้ปลากัดที่มีลักษณะ รูปแบบ สีสันต่าง ๆ มากมายปลากัดไทยที่นำไปเลี้ยงในประเทศต่าง ๆ ในช่วงนั้นเป็นปลากัดครีบยาวที่เรียกว่าปลาจีนเป็นหลัก ใน ระยะแรกการปรับปรุงพันธุ์จะมุ่งที่จะปรับปรุงสีที่มีอยู่แล้วให้สมบูรณ์ สวยงาม และสร้างสีใหม่ ๆ เป็นหลัก ในระยะประมาณ 70-80 ปีที่ผ่านมา ปลาที่ มีลำตัวสีอ่อน ที่เรียกปลากัดเขมรเป็นที่นิยมมาก และมีการพัฒนาสีสันต่าง ๆ กันอย่างหลากหลาย เช่นเดียวกับปลากัดสายพันธุ์ลิบบี้ ที่มีครีบยาว สวยงามมากกว่ากติถัดมาในช่วง 50-60 ปี ที่แล้วนักคัดพันธุ์ปลากัดทุ่มเทไปกับการพัฒนาปลากัดสีดำ ซึ่งเป็นที่ฮือฮามากในช่วงนั้น จนมาถึงระยะ 20-30 ปีที่ผ่านมาจึงมีความสนใจในการพัฒนารูปแบบและรูปทรงของครีบปลากัดกันอย่าง จริงจังปลากัดที่นิยมมากในยุคนั้นคือปลาหางสามเหลี่ยม หรือ "เดลต้า" ซึ่งหางกางทำมุม 45-60 องศา กับโคนหาง และที่เป็นที่นิยมสูงสุดคือ "ซุปเปอร์ เดลต้า" สีเดียวที่หางแผ่กางใหญ่กว่าปกติ
เมื่อสิบปีที่แล้วมานี้ วงการปลากัดก็ต้องตื่นเต้นกับ "ฮาล์ฟมูนเดลต้า" ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีก ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พัฒนาในประเทศ เยอรมันนีและฝรั่งเศส ปลากัดชนิดนี้มีครีบหางแผ่กว้างเป็นครึ่งวงกลม ทำมุม 180 องศากับโคนหาง หลังจากนี้ก็มีพระจันทร์ครึ่งซีกประเภทสองหาง ตามออกมา และในช่วงนี้นักเพาะพันธุ์ปลากัดก็หลงไหลอยู่กับ ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีกหรือฮาล์ฟมูลเดลต้าอยู่หลายปี จนเมื่อประมาณสองปีที่แล้ว นักเพาะพันธุ์ชาวสิงคโปร์ก็ผลิตปลากัด "คราวด์เทล" หรือ "หางมงกุฎ" ออกมาให้วงการตื่นเต้นกันอีกครั้ง ซึ่งน่าจะได้จากการผสม ปลากัด "หางจัก" หรือ "หนามเตย" ที่พบอยู่เสมอ ๆ กับ "เดลต้า" หรือ "ฮาล์ฟมูนเดลต้า" จึงทำให้ได้ปลา ที่หางแผ่รูปสามเหลี่ยมจนถึงครึ่งวงกลมและมีขอบ เป็นจักรหรือเป็นซี่ในระยะปีสองปีที่ผ่านมานักคัดพันธุ์ทั้งในไทยและต่าง ประเทศได้ปรับปรุงปลากัด หางมงกุฏ จนได้รูปแบบใหม่ ๆ ออกมามากมาย และเริ่มมีการผสมกลับมายังปลาลูกหม้อ เพื่อความสมดุลย์ระหว่างครีบและลำตัวใน "เดลต้า" และ "ฮาล์ฟมูนเดลต้า" เป็นที่น่ายินดีว่าในปัจจุบันผู้เพาะเลี้ยงปลากัดในประเทศไทยหลายรายสามารถ ผลิตสายพันธุ์ปลากัดเหล่านี้ได้ใน ระดับดี ทำให้การปรับปรุงพันธุ์ปลากัดครีบยาวในบ้านเราก้าวขึ้นไปทัดเทียมไม่น้อย หน้ากับต่างประเทศ
กลับด้านบน
การพัฒนาปลากัดลูกหม้อเพื่อเป็นปลาสวยงาม
ใน ขณะที่การพัฒนาปลากัดครีบยาวเป็นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ปลากัดสวยงามใน รูปแบบสีสันต่าง ๆ ตลอดระยะเวลาเกือบศตวรรษที่ผ่านมา สำหรับปลากัดลูกหม้อนักเพาะพันธุ์ไทยก็ยังเน้นการพัฒนาสายพันธุ์ เพื่อการกัดแข่งขันเป็นหลัก ปลากัดครีบยาว หรือที่เรียกว่าปลาจีนในประเทศ ก็ขาดการพัฒนาสายพันธุ์จนเป็นปลาที่ถูกจัดอยู่ในระดับคุณภาพค่อนข้างต่ำด้วย ความห่วงใยในปลาสวยงาม ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเพชรน้ำหนึ่งของ ประเทศไทย ที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทยไปทั่วโลกในนาม "ปลานักสู้แห่งสยาม" (Siamese Fighting Fish)
คณะ ประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงได้เริ่มดำเนินการที่จะฟื้นฟูสายพันธุ์ปลากัดใน เมืองไทย โดยได้เริ่มการจัดสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับ การปรับปรุงสายพันธุ์และมาตรฐานปลากัดในระดับสากล และได้เริ่มการจัดงานประกวดปลากัดขึ้นเป็นครั้งแรกในงานวันเกษตรแห่งชาติที่ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2538 ซึ่งได้จัดประกวดต่อเนื่องกันมาทุกปี จากนั้นมาทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงก็ได้เพิ่มรายการ ประกวดปลากัดในงานวันประมงน้อมเกล้าที่จัดทุกปี และมีการจัดประกวดกันอย่างต่อเนื่องโดยชมรม และองค์กรต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ในช่วงนี้เองที่ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาลูกหม้อเพื่อเป็นปลาสวยงามกัน อย่างเต็มที่ ทำให้ได้ปลากัดลูกหม้อที่มีสีสันสวยงาม ทั้งสีเดี่ยว สีผสม และลวดลายต่าง ๆ จนถึงปัจจุบันรูปแบบสีสันของปลากัดลูกหม้อได้พัฒนาไปอย่างมากมายในทุกโทนสี และกลายเป็นปลาสวยงามอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายขึ้น และก็นับเป็นความภูมิใจของคนไทยที่บุกเบิกการพัฒนาปลาสายพันธุ์นี้อย่างต่อ เนื่องก่อนชาติอื่น ๆ ไม่เหมือน ปลาครีบยาวหรือปลาจีนที่เราพัฒนาไปได้เพียงระดับหนึ่งแล้วก็หยุดอยู่กับที่ จนชาติอื่น ๆ นำไปพัฒนาจนไปค่อนข้างไกลกว่าคนไทยจะได้เริ่มให้ ความสนใจกลับมาพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดครีบยาวอีกครั้ง
รูปทรงของครีบนอกจาก จะถูกพัฒนาให้ได้รูปแบบสวยงามตามปกติแล้วก็ยังมีการพัฒนาปลาที่ครีบหางแบ่ง เป็นพู 2 ข้าง เป็นปลากัดหางคู่ซึ่งก็จะมี รูปลักษณะในหลาย ๆ รูปแบบทั้งเว้าลึก เว้าตื้น ปลายโค้งมนรับกัน หรือปลายแปลมแยกเป็นสองส่วน หรือเป็นลักษณะอื่น ๆ ซึ่งมีทั้งในปลาครีบยาว และในปลาลูกหม้อ ปลากัดหางคู่จะมีโคนหางใหญ่กว่าปกติเพื่อรองรับหางที่แยกเป็นสองส่วน มีลำตัวอ้วนสั้นกว่าปลาหางเดี่ยวเล็กน้อย และครีบหลัง จะมีขนาดใหญ่เกือบเท่ากับครีบหาง
ลักษณะที่ดีของปลากัด
การ ดูลักษณะปลากัดจะดูเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ สี รูปทรง (ครีบและลำตัว) และกริยาอาการ ปลาที่สมบูรณ์มีลักษณะที่ดีจะต้องมีอาการกระฉับกระเฉง มีสีสันสวยงาม มีความสมดุลย์ระหว่างขนาดและลักษณะของครีบและลำตัว และมีครีบที่ได้ลักษณะสวยงาม ปลากัดมีครีบเดี่ยวสามครีบ คือ ครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้น และมีครีบคู่สองคู่คือครีบท้องหรือทวนหรือตะเกียบและครีบอกซึ่งอยู่ติด บริเวณเหงือก
ครีบหาง เป็นครีบที่มีรูปแบบหลากหลายมากที่สุด รูปแบบโดยทั่วไป สำหรับปลาหางเดี่ยวอาจเป็นหางกลม หางครึ่งวงกลม หางรูปสามเหลี่ยม หางกลมปลายแหลม หางย้วย และหางรูปใบโพธิ์ หางทุกแบบควรมีการกระจาย ของก้านครีบเท่ากัน ระหว่างส่วนบนและส่วนล่างของเส้นที่ลากผ่าน แนวขนานลำตัว หางควรแผ่เต็มสมบูรณ์ได้สัดส่วน ในกรณีของปลาหางคู่ลักษณะหางอาจเป็นลักษณะที่เชื่อมต่อกันจนปลายหางเกือบ เป็นเส้นตรง หรือเว้าเล็กน้อย หรือเว้ามากเป็นรูปหัวใจ หรือหางแยกที่ซ้อนทับเกยกัน หรือหางที่แยกจากกันเต็มที่โดยไม่ซ้อนทับ หรือเป็นหางที่เว้าลึกในระดับ ต่าง ๆ แต่ยังไม่แยกกันเด็ดขาด
ครีบก้น ลักษณะครีบที่ดีควรจะมีขอบครีบส่วนหน้าและส่วนหลังขนานกันและค่อย ๆ โค้งไปทางด้านหลัง ขอบด้านหน้าและขอบด้านหลัง จะต้องไม่เรียวแหลมเข้าหากัน ลักษณะที่ดีจะต้องแผ่กว้างทำมุม และซ้อนทับดูเป็นเนื้อเดียวกันกับครีบหาง แต่ไม่เชื่อมต่อกับครีบหาง
ครีบท้อง ลักษณะควรเหมือนใบมีดที่มีด้านคมอยู่ด้านหลัง ขอบด้านหน้าโค้งเข้าเล็กน้อย ปลายแหลม ครีบทั้งคู่ควรมีความยาวและขนาด เท่ากัน และไม่ไขว้กัน ครีบจะต้องไม่สั้นหรือกว้างเกินไป และไม่ยาวหรือแคบเกินไป
ครีบอก ควรเป็นครีบที่สมบูรณ์กว้างและยาว
แต่ล่ะหัวข้อ น่าสนใจ ให้ความรู้ดีคร๊าฟฟฟฟฟฟ
ตอบลบแต่ที่บ้านเลี้ยงหางนกยูง เอาวิธีไปใช้ได้ป่าววววววววว
อยากให้หางนกยูงกัดเป็น กัดเก่งก๊าฟฟฟฟฟฟฟฟฟ
อ่ะ ปลานกยูงกัดได้เหย๋อ
ตอบลบอ่ะ ปลานกยูงกัดได้เหย๋อ
ตอบลบคุณ ริว มีปลายังมายังปลาจะเล่นสักชุด บทความเขียนได้ดีนี่ สุดยอดไม่หมกเม็ดเลยน่ะ
ตอบลบ